วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลิ้งค์บล็อกห้อง 3/7

                                                 ประวัติส่วนตัว

ด.ญ.สิริกร  เพ็ชรขาว  ม.3/7  เลขที่ 41

ชื่อเล่น  โฟม

อายุ 15 ปี

เกิดวันที่ พุธที่  6 เดือนธันวาคม  พ.ศ.2543

โรงเรียนวัดราชโอรส


วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงงานคอมพิวเตอร์

                 
                                                           โครงงานคอมพิวเตอร์
                                     เรื่อง โครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการทำงานของซอฟต์แวร์


                            

                                                                           จัดทำโดย

                                     เด็กหญิงสิริกร เพ็ชรขาว  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 เลขที่41

                                                                            เสนอ

                                                               ครู ชวลิต  มะสำอินทร์

                           รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา

                                              วิชา โครงงานคอมพิวเตอร์ (ง23102) 
                                                 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
                             กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
                                           สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

                                                                   บทคัดย่อ
              โครงงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องนี้เป็นโครงงานเกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์  จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการเรียน ทั้งนี้ได้ทาการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาความรู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์หมายถึง เช่นความหมายของคอมพิวเตอร์ 1.หน่วยประมวลผลกลาง 2.หน่วยรับเข้า 3.หน่วยส่งออก 4.หน่วยความจำหลัก5.หน่วยความจำรอง  วิวัฒนการของคอมพิวเตอร์ และประเภทของคอมพิวเตอร์  และนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ ทาให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไปได้เป็นอย่างดี 

                                                                       บทที่1                                                                      บทนำ

                                                           ที่มาและความสำคัญ
           ปัจจุบันเทคโนโลยีและการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้มีการวิวัฒนาการมีกาเปลี่ยนแปลงความก้าวไกลเทคโนโลยีและได้มีการพัฒนาการต่าวๆเช่น.หน่วยประมวลผลกลาง 2.หน่วยรับเข้า 3.หน่วยส่งออก 4.หน่วยความจำหลัก5.หน่วยความจำรอง  วิวัฒนการของคอมพิวเตอร์ และประเภทของคอมพิวเตอร์และการที่มีการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นทำให้เป็นประโยชน์ต่อคนในปัจจุบันทำให้มีการทำงานเร็วขึ้นสะดวกต่อการทำงาน
เราจะแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นดังนี้ 1. ระบบภายใน ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ซีพียู และหน่วยความจำปฐมภูมิ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกส่วนนี้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์
 2. ระบบภายนอก ในส่วนนี้คือ ส่วนอุปกรณ์ อินพุต-เอาท์พุต และหน่วยความจำทุติยภูมิ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นอุปกรณ์รอบข้าง (peripheral)เป็นการแสดงการติดต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังคงเหมือนกับ แต่ลดความยุ่งยากลง เพื่อให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น ในส่วนของอุปกรณ์อินพุตจะรับข้อมูล หรือ รับคำสั่ง แล้วส่งให้ซีพียูประมวลผล เมื่อซีพียูมีข้อมูลจะส่งกลับให้ผู้ใช้ ซีพียูจะส่งข้อมูลไปทางอุปกรณ์เอาท์พุต ในการทำงานของซีพียูบางครั้งซีพียูอาจส่งข้อมูลไปเก็บ เอาไว้ในหน่วยความจำทุติยภูมิ เช่น ดิสก์ ในลักษณะนี้ดิสก์จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เอาท์พุตและในทำนองเดียวกัน ซีพียูอาจรับหรือต้องการข้อมูลมาจากดิสก์เช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้ดิสก์จะเป็นอุปกรณ์อินพุต นั่นคือ หน่วยความจำทุติยภูมิสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์อินพุต และ เอาท์พุตการที่เราแยกหน่วยความจำปฐมภูมิกับหน่วยความจำทุติยภูมิออกกันเนื่องจากว่าหน่วยความจำปฐมภูมินั้น ติดต่อกับซีพียูโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์อื่น แต่สำหรับหน่วยความจำทุติยภูมิเป็นอุปกรณ์ภายนอกแยกออกไป และ ข้อสำคัญก็คือ การติดต่อระหว่างอุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตและหน่วยความจำทุติยภูมิต้องมีการอุปกรณ์ช่วยเหลือ 
                                               
                                                  บทที่2
                                            เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของคอมพิวเตอร์
                 เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) มีส่วนประกอบหลัก 5 ส่วนคือ
1.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)หรือซีพียู (CPU)หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ประมวลผลตามคำสั่งหรือโปรแกรมที่กำหนดไว้ เมื่อหน่วยประมวลผลทำงานสำเร็จแล้วจะเก็บข้อมูลหรือส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกทางเอาต์พุตต่อไป
2.หน่วยรับเข้า (Input Unit)หน่วยรับเข้า
   หน่วยรับเข้า หรืออินพุต  เป็นส่วนที่ใช่รับข้อมูลและคำสั่งจากภายนอกเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปประมวลผลอุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard)เมาส์ (Mouse) สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นต้น 3.หน่วยส่งออก (Output Unit)หน่วยส่งออก
หน่อยส่งออกหรือเอาต์พุตเป็นส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมาในรูปแบบต่างๆ อุปกรณ์เอาต์พุตได้แก่ จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) เป็นต้น

หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำ (memory) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวพักข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใช้ เพื่อส่งต่อไปยังหน่วยผลกลางอีกทีหนึ่ง ในระบบคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำอยู่หลายส่วน
4.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
หน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ซีพีกำลังประมวลผลอยู่ในขณะนั้น หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ รอม (ROM) และแรม (RAM)    – รอม (ROM) มาจากคำว่า Read Only Memory เป็นหน่วยความจำทีเก็บข้อมูลแบบถาวร (เปลี่ยนแปลงไม่ได้) ข้อมูลจะคงอยู่ตลอดไปแม้ในช่วงที่ปิดเครื่องไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยง ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยความจำนี้เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง ที่เรียกว่ารอมไบออส (BIOS)                                              – แรม (RAM) มาจากคำว่า Random Access Memory ถ้าหากกล่าวถึงหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์มักจะนึกถึงหน่วยความจำประเภทแรมนี้ หน่วยความจำชนิดนี้เป็นหน่วยความจำที่ทำงานร่วมกับซีพียู ใช้พักข้อมูลชั่วคราว แต่ข้อมูลจะหายเมื่อมีการปิดเครื่อง
5.หน่วยความจำรอง (Secondary Memory)หน่วยความจำรองหน่วยความจำรองใช้สำหรับเก็บคำสั่งและข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ใช้ในทันทีทันใด แต่ต้องการใช้ในอนาคต หน่วยความจำสำรอง มีหลายชนิดขึ้นกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ตัวอย่างของหน่วยความจำรองได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ (harddisk) CD DVD USB flash drive
ซีพียู (CPU) และการประมวลผลข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ หรือ ซีพียู (CPU) ซีพียูเป็นชิปสารกึ่งตัวนำตัวหนึ่งที่เป็นหัวใจการทำงานของคอมพิวเตอร์
คำว่า ชิป (chip) เป็นสารกึ่งตัวนำขนาดเล็ก ซึ่งภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไว้มากมาย โดยวงจรประกอบด้วยทรานซีสเตอร์เป็นจำนวนมาก
หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุม เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ ควบคุมทิศทางการรับส่งข้อมูลต่างๆให้ทำงานได้ถูกต้อง ควบคุมขั้นตอนการทำคำสั่งของคอมพิวเตอร์ ควบคุมการประมวลผล และการใช้บัสต่างๆในการรับส่งข้อมูล
หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และลอจิก (ALU) วงจรในส่วนนี่จะทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และทางลอจิกไซเคิลคำสั่ง (Machine Cycle)จากที่กล่าวไว้แล้วว่าโปรแกรมเกิดจากการนำคำสั่งมาต่อเรียงกัน เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยควบคุมจะทำการอ่านคำสั่งต่างๆ โดยขั้นตอนการทำคำสั่งของซีพียูประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานพื้นฐานสี่ขั้นตอน เรียกว่าไซเคิลคำสั่ง (machine cycle) ประกอบด้วย   1) fetching  2) decoding  3) executing และ 4) storing
รีจีสเตอร์ (Register)หน่วยเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่อยู่ภายในซีพียู มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลสูงเรียกว่า รีจีสเตอร์ ภายในซีพียูจะใช้รีจีสเตอร์นี้ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งชั่วคราวเพื่อรอการประมวลผลต่อไป
สัญญาณนาฟิกาของระบบ (System Clock)ระบบคอมพิวเตอร์จะใช้ crystal ขนาดเล็กเป็นตัวควบคุมสัญญาณนาฬิกาของระบบ โดยมีการออกแบบไว้ว่าขั้นตอนการทำงานหนึ่งๆ จะใช้สัญญาณนาฬิกากี่ลูก ถ้าหากสัญญาณนาฬิกาที่ป้อนเข้ามามีความถี่สูง ก็จะทำให้การทำงานนั้นๆ เร็วขึ้นด้วย

วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์
เครื่่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นกับขนาด ประสิทธิภาพ และลักษณะการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
1.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)
คอมพิวเตอร์ประเภทนี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีใช้งานกันทั่วไป เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่เหมาะสำหรับใช้งานในบ้าน ในสำนักงาน ราคาไม่แพง
2.Handheld Computer
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับพกพาไปที่ต่างๆ เนื่องจากเครื่องมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะที่จะออกแบบคีย์บอร์ตไว้บนตัวเครื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์สำหรับป้อนข้อมูล สามารถใช้งานพื้นฐานทั่วไปได้ รับส่ง Mail และใช้ในการสื่อสารได้
3.เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะมีความสามารถสูงกว่ามาก คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะใช้เป็นเครื่องให้บริการกับคอมพิวเตอร์ PC ต่างๆ ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย และยังใช้เป็นเครื่องให้บริการบนเว็ปอีกด้วย ขนาดและประสิทธิภาของคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์นี้มีหลายรุ่น ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าจะให้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ หลายเครื่องหรือไม่
4.คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะนิยมใช้ในองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น ระบบธนาคารขนาดใหญ่ ระบบธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นต้น ในการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมมักจะไม่ใช้เครื่องเมนเฟรมนี้เพียงเครื่องเดียว แต่จะมีการต่อทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์อื่นๆด้วย

5.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จัดว่าเป็นคอมพิวเตอร์ทีี่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงที่สุด สามารถทำงานได้มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที มีน้ำหนักหลายตัน สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไปได้จำนวนมาก คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะใช้ในงานที่ต้องการประมวลผลกับข้อมูลจำนวนมากด้วยความเร็วสูงๆ เช่น ทางด้านการพยากรณ์อากาศ และงานคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบในอุตสาหกรรมเป็นต้น
X12926806-9
6.คอมพิวเตอร์ฝังตัว (Embedded Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยจะเป็นระบบประมวลผลที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อควบคุมการทำงานนั้นๆ ระบบประเภทนี้จะพบในเครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์สมัยใหม่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ การจุดระเบิด ระบบเบรค ด้วยคอมพิวเตอร์อุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตของคอมพิวเตอร์
หน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออกหรืออินพุตเอาต์พุตเป็น
ช่องทางหลักที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อกับผู้ใช้งาน โดยจะมีอุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตประกอบอยู่ อุปกรณ์อินพุตจะเปลี่ยนปริมาณต่างๆ ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจไปที่รหัสที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนอุปกรณ์เอาต์พุตจะเปลี่ยนสัญญาณที่คอมพิวเตอร์เข้าใจให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้
1.อุปกรณ์อินพุต   อุปกรณ์อินพุต (input device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยจะนำลักษณะของข้อมูลที่ถูกอินพุตเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุตได้แก่ คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ ปากกาอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสแกน เครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นต้น
2.อุปกรณ์เอาต์พุต   หลังจากที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลแล้วต้องการแสดงสารสนเทศออกมา จะต้องแสดงออกทางเอาต์พุตซึ่งจะนำรหัสที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้มาแสดงในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่
– แสดงผลเป็นข้อความ (Text) ให้เอาต์พุตเป็นตัวอักษร ในรูปแบบของรายงาน ข่าวสารต่างๆ
– แสดงผลเป็นภาพ (Graphics) โดยให้ข้อมูลเป็นภาพ กราฟ ผังงานต่างๆ เป็นต้น
– แสดงผลเป็นเสียง (Audio) อาจเป็นเสียงเพลง เสียงประกอบเกม เป็นต้น
– แสดงผลเป็นวิดีโอ (Video) โดยแสดงเป็นไฟล์วิดีโอออกมาทางหน้าจอ
อุปกรณ์เอาต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีเอาต์พุตแบบอื่นๆ อีกเช่น ลำโพง แฟกซ์ โมเด็ม
                                                                 บทที่3
                                                         วิธีการดำเนินงาน

ลำดับขั้นตอนการศึกษา
๑.กำหนดปัญหา
๒.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ  เรื่อง  โครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการทำงานของซอฟต์แวร์
 ๓.รวบรวมข้อมูลจากหนังสือเทคโนโลยีและผู้ที่มีความรู้
๔.ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
๕.รวบรวมข้อมูลที่ได้และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้วลงมือปฏิบัติ
๖.จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น  เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้น ม. ๓ ได้ศึกษาเพื่อให้เข้าใจ
๗.ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือรายงาน
๘.นำความรู้ที่ได้มา  จัดทำเป็นเว็บบล็อก 
บทที่ 4
ผลการดำเนินงานโครงงาน

จากการศึกษาเกี่ยวกับโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการทำงานของซอฟต์แวร์ทำให้ได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาศึกษาแล้วเผยแพร่เพื่อนำเป็นสือการสอนในทางอินเทอร์เน็ตหรือนำข้อมูลที่ศึกษาได้นั้นจัดลงในโปรแกรม powerpoint เพื่อนำไปหน้าห้องเรียนเพื่อให้ง่ายต่อการสอนแล้วการศึกษาของเด็กหรือนำไปทำในโปรแกรม microsoft word จัดทำเป็นรูปเล่มแล้วนำไปวางในห้องสมุดหรือนำไปวางในนิทรรศการกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาต่อไปได้ด้วยดี
บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
  สรุปผลจากการดำเนินงานจากการที่ได้ทำการไปศึกษาและจัดทำโครงงานเพื่อนำมาเสนอเกี่ยวกับ ความหมายของคอมพิวเตอร์ 1.หน่วยประมวลผลกลาง 2.หน่วยรับเข้า 3.หน่วยส่งออก 4.หน่วยความจำหลัก5.หน่วยความจำรอง  วิวัฒนการของคอมพิวเตอร์ และประเภทของคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รู้ว่า อุปกรณ์แต่ละชนิตของคอมพิมเตอร์มีลักษณะอย่างไรแล้วมันทำงานอย่างไรเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์คงสภาพได้ดีและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ 
อภิปรายผลจากการทำโคงงาน
สรุปเรื่องโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการทำงานของซอฟต์แวร์
เราจะเห็นว่าส่วนประกอบหรืออุปกรณ์หลักๆ ของคอมพิวเตอร์นั้นแต่ละส่วนก็มีความแตกต่างกันไป และวิธีการดูแลรักษาก็แตกต่างกันออกไป  ฉะนั้นเมื่อเราใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็ควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบ การใช้งานอย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่กับเราไปนานแสนนานเลยทีเดียวและใช้วิธีการทำงานที่ถูกต้อง
ส่วนใครที่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ก็ควรที่จะถอดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเช็ดถู เป็นการทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ก็ไม่ควรทำเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายและเกิดความเสียหาย